แอพ quick cash quick money ได้เงินจริงไหม (ถูกกฏหมายไหม เราเช็คให้แล้ว)

ชื่อแอปบอกว่า quick cash ฟังดูกู้ได้เร็ว แต่จะดีจริงหรือ

แอป quick cash ได้เงินจริงไหม

ยุคนี้การยืมเงินออนไลน์ผ่านแอปนั้น ไม่สามารถตัดสินใจได้จากแค่ชื่อแอปหรือคำโฆษณานะ แอปที่ชื่อ quick cash ห้วน ๆ แบบนี้มีความเสี่ยงสูงมากที่จะกู้เงินแล้วไม่ได้จริง รวมไปถึงอาจเกิดภัยอันตรายต่าง ๆ ต่อผู้กู้ในภายหลังอีกด้วย

เพราะการจะยืมเงินผ่านแอปนั้น สิ่งที่ต้องเช็คก่อนเลยก็คือแอปนั้น ถูกกฏหมายหรือเปล่า

สินเชื่อ จำนวนเงินที่ยืม ผ่อนจ่าย 12 เดือน ดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย %
สินเชื่อส่วนบุคคล จากธนาคาร 10,000 1,041.33 2,496.00 24.96%
แอปยืมเงินถูกกฏหมาย 10,000 1,108.33 3,300.00 33.00%
เงินด่วนนอกระบบ 10,000 2,833.33 24,000.00 240.00%

ที่จำนวนเงินกู้ยืมเท่ากัน 10,000 บาท ยืมเงินผ่านแอป ผ่อนจ่าย 12 เดือนดอกเบี้ยก็ว่าสูงแล้วนะ ที่ 33% แต่หากยืมเงินด่วนนอกระบบ หลงไปใช้นี่ โอกาสจะเจอดอกเบี้ยเดือนละ 20 % ทบผ่อนจ่ายทั้งปีอาจสูงถึง 240% เลยทีเดียว และกับบางเจ้ายิ่งโหดขึ้นไปอีก คิดดอกรายสัปดาห์ ที่ 39% ทุกสัปดาห์ นึกไม่ออกเลย ว่าจะคืนเงินจนผ่อนหนี้หมดได้ยังไง

มาศึกษาข้อมูลภัยที่อาจเกิดขึ้น และ วิธีป้องกัน กันต่อดีกว่า

ภัยที่อาจเกิดขึ้นหากดาวน์โหลดมาใช้

ดอกเบี้ยโหด

อ้างอิงจากกระทู้ในเว็บ pantip.com กระทู้นี้ ที่มีการสอบถามว่า แอพกู้เงินในเพร์สโตร์กู้เงินได้จริงไหมคะ แนะนำหน่อยค่ะ จำเป็นต้องใช้ ค่ะ จะมีผู้มีประสบการณ์หลายคนเลยว่า แอปกู้เงินประเภทนี้ กู้เงินได้จริง แต่ ดอกสูงจริง ทวงโหดจริง ยืมแล้วเปลี่ยนใจคืนไม่ได้

ซึ่งนั่นไม่ต่างอะไรกับการกู้เงินนอกระบบเลย และถ้าเราไม่ได้ตั้งใจที่จะกู้นอกระบบ ก็ไม่ต่างจากการตกเป็นเหยื่อของพวกเขา

ถึงแม้แอปเหล่านี้อาจมีข้อความชักจูง และเผยอัตราดอกเบี้ยให้เห็นในหน้าดาวน์โหลด แต่พอคุณโหลดมาใช้จริง ๆ อัตราดอกเบี้ยก็อาจไม่เป็นเช่นนั้น มีความจงใจพิมพ์ตกหล่น หรือคำนวณตกหล่น เช่น ที่หน้าแรกเราอาจเห็นว่าคิดดอกเบี้ย 18% หรือ 18% ต่อปี แต่พอกดยืมจริงแล้ว 18% ที่ว่าจะคิดรายสัปดาห์ ซึ่งคุณต้องคืนเงินใน 7 วัน ไม่งั้นก็ต้องเจอกับการทวงหนี้สุดโหด

ถ้าอยากได้เงินมาใช้ด่วนยามฉุกเฉินจริง มีหลายแอปเลยที่สามารถยืมเงินได้ และไม่ต้องเสี่ยงกับการเจอเงินกู้นอกระบบ สามารถเช็คแอปต่าง ๆ ได้ที่นี่

ได้เงินกู้ไม่ครบเต็มจำนวน แถมยังต้องจ่ายเงินก่อน

แอปเงินกู้หลอกลวงส่วนใหญ่จะมีลักษณะเด่นเลยคือ มักจะให้อนุมัติสินเชื่อก็ต่อเมื่อลูกค้าโอนเงินไปก่อน อาจจะต้องซื้อบัตรเติมเงิน ซื้อเพชร หรือซื้ออะไรก็แล้วแต่ แล้วถึงจะให้โอนได้ อันนี้ข้อมูลไม่ได้อยู่ที่ไหนไกลเลย ที่หน้ารีวิวของแอปนั้นนั่นเอง

ทั้งนี้การคอมเม้นต์สามารถวิจารณ์หรือให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับผู้ใช้คนอื่น ๆ ได้ และมันเป็นประโยชน์มากนะ แต่ไม่ควรใส่ชื่อ นามสกุลจริง ของตัวเองลงไปในนี้ เพราะจะถูกสืบค้นข้อมูลได้ และเป็นอันตรายมาก

ไม่จ่าย โดนทวง และคนรอบข้างก็โดนด้วย

สำหรับใครที่กู้ไปแล้ว หากหาเงินมาหมุนไม่ทัน จะโดนทวงโหดมาก และหากใครคิดจะชิ่ง แล้วไปแจ้งความแทน อันนี้ก็ไม่รอดจากการทวงนะ ถ้าคิดจะยืมแอปพวกนี้ ยังไงก็ต้องคืน ถ้าหาคืนไม่ได้ อย่าไปยืมเขาเลย เขาให้เงินจริง แต่ก็ทวงโหดจริง แบบเงินนอกระบบนั่นเอง

ที่สำคัญในขั้นตอนการสมัคร นอกจากแอปจะได้ข้อมูลส่วนตัวของเราไป ยังได้รายชื่อคนในโทรศัพท์ของเราไปด้วย ซึ่งเขาก็พร้อมที่จะโทรทวงทุกคน ข่มขู่ คุกคาม ประจานต่าง ๆ นานา ถ้านึกไม่ออกว่าโหดขนาดไหน ลองอ่านบทความจากไทยรัฐบทความนี้ได้ มีตัวอย่างเคสที่เกิดขึ้นให้เห็น

แล้วจะทำยังไงดี?

นี่เป็นคำแนะนำง่าย ๆ ที่คุณสามารถทำตามได้

ในกรณีก่อนที่จะกู้เงิน

  • ไม่โหลดมาใช้ไปเลย จะดีที่สุด หากต้องการกู้เงินถูกกฏหมาย ปัจจุบันสามารถกู้ได้ทั้งกับ mobile banking ของธนาคารที่คุณใช้ แอปกู้เงินถูกกฏหมาย หรือติดต่อสถาบันการเงินใกล้บ้านที่สาขา ก็ยังเป็นวิธีที่ดีอยู่
  • ค้นหาข้อมูลทุกครั้ง ก่อนทำการกู้เงินกับแอป ๆ นั้น เพราะต้องบอกว่ามีแอปเยอะมากที่เป็นแอปหลอกลวง หลอกให้ทำสัญญาเงินกู้ และทำให้คุณต้องเป็นหนี้หนัก ๆ  เอาชื่อแอป ชื่อบริษัท เจ้าของไปเสิร์ซในกูเกิล ก่อน อ่านบทความรีวิว อ่านรีวิวในเพลย์สโตร์ เห็นคะแนนสูง ดาวน์โหลดเยอะ อย่าเพิ่งเชื่อ ของพวกนี้ปั่นยอดกันได้หมดเลย
  • นำชื่อแอปหรือบริษัทไปเช็คที่  www.1359.go.th เว็บไซต์รวบรวมพิโกไฟแนนซ์ เพราะแอปกู้เงินมักจะได้รับใบอนุญาตประเภทนี้ และที่ https://www.bot.or.th/app/BotLicenseCheck เว็บไซต์เช็คใบอนุญาตประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการเงิน จากธนาคารแห่งประเทศไทย มีสักที่ใดที่หนึ่งก็อุ่นใจ
  • ถ้าจะกู้เงินเพราะคิดว่าไม่มีทางเลือกแล้วจริง ๆ การทวงมันโหดร้ายมากนะ คิดหาเงินล่วงหน้าไว้ก่อนเลย

หากกู้เงินหรือเกิดข้อผิดพลาดไปแล้ว

  • คืนเงินให้ครบทุกบาททุกสตางค์ อันนี้สำคัญ ไม่คืนยังไงก็โดนทวง หนีไม่ได้เด็ดขาด
  • เปลี่ยนชื่อบัญชี Facebook, LINE หรือเบอร์โทรที่ใช้กับแอปนั้น เพื่อป้องกันการนำไปใช้ ส่ง sms หลอกลวงอื่น ๆ ในภายภาคหน้า
  • ในกรณีผูกบัตรอะไรกับแอปก็ตาม ให้ทำการอายัติบัตรนั้นไป เพราะอาจถูกดูดเงินออกจากบัตรได้ ดังที่เป็นข่าว
  • ปรึกษาและศึกษาข้อมูล โดยปัจจุบันมีเพจเฟซบุ๊คอย่าง Anti หมวกกันน็อค Online คอยให้คำแนะนำ
  • หากได้รับความเสียหาย สามารถแจ้งความร้องทุกข์โดยตรงได้ที่สถานีตำรวจในท้องที่ที่เกิดเหตุ หรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สายด่วน 1599.

ทั้งนี้การแจ้งความจะช่วยเหลือได้ในบางกรณีเท่านั้นนะ ต้องยอมรับเลยว่า เคสที่โดนหลอก นั้นมีมากมหาศาลเหลือเกิน และแอปเงินกู้นอกระบบก็มีเยอะมาก ๆ ใน Google Play Store คิดดูละกันขนาด Google บริษัทเทคโนโลยีระดับโลกยังจัดการไม่หมด เพราะมันก็เยอะมากจริง ๆ

ฉะนั้นหากพลาดไปแล้ว หาเงินมาคืนแล้วรีบออกจากวงจรนี้ หาสินเชื่อในระบบที่ช่วยปิดหนี้นอกระบบมาปิดหนี้ไปก่อน จะเป็นทางออกที่คุณทำได้ หากยังไม่พลาด ก็อย่าพลาดเลย